ยินดีต้อนรับเข้าสู่ แฟ้มสะสมผลงานอิเล็กทรอนิกส์ วิชาการบริหารสถานศึกษาปฐมวัย (EAED5401) Lucky Clover - Diagonal Resize 2 EAED5401 การบริหารสถานศึกษาปฐมวัย (Pre-School Administration): บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3 Cute Grapes 2

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

วันพุธที่ 31 มกราคม 2561: เวลา 08.30 - 11.30 น.



... เพื่อนนำเสนอคำคม เกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษา ...


(คำคมของนางสาวภัทรวรรณ)


(คำคมของนางสาวชื่นนภา)


(คำคมของนางสาวปฐมพร)

... จากนั้นเรียนเนื้อหาใน Power Point ...

เรื่อง บทบาทหน้าที่ของผู้บริหาร

  • ผู้นำ (Leader) หมายถึง บุคคลที่มีศิลป บุคลิกภาพ ความสามารถ เหนือบุคคลทั่วไป สามารถชักจูงให้ผู้อื่นปฏิบัติตามที่ต้องการได้ 
  • ความเป็นผู้นำ (Leadership) เป็นกระบวนการที่มีอิทธิพลต่อกลุ่ม เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ผู้บริหารทุกคนควรเป็นผู้นำ และมีภาวะผู้นำ

 

ประเภทของผู้นำ 

ผู้นำตามอำนาจหน้าที่ 
  1. ผู้นำแบบใช้พระเดช  เช่น รัฐมนตรี อธิบดี หัวหน้ากอง และหัวหน้าแผนก เป็นต้น
  2. ผู้นำแบบใช้พระคุณ  ตัวอย่างได้แก่ มหาตมะคันธี ซึ่งสามารถใช้ภาวะการเป็นผู้นำครองใจชาวอินเดียนับเป็นจำนวนล้าน ๆ คน ได้
  3. ผู้นำแบบพ่อพระ เช่น พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นองค์ประมุขและสัญลักษณ์ของแรงศรัทธาของประชาชนไทยทั้งมวล
ผู้นำตามการใช้อำนาจ  
  1. ผู้นำแบบเผด็จการ  หรืออัตนิยม ปฏิบัติการแบบนี้เรียกว่า One Man Show อยู่ตลอดเวลาโดยไม่คำนึงถึงจิตใจของผู้ปฏิบัติงาน เช่น ฮิตเลอร์  
  2. ผู้นำแบบเสรีนิยม หรือ Free-rein Leadership ตนเป็นผู้ดูแลให้กิจการดำเนินไปได้โดยถูกต้องเท่านั้น มีการตรวจตราน้อยมากและไม่ค่อยให้ความช่วยเหลือในการดำเนินงานใด ๆ ทั้งสิ้น
  3. ผู้นำแบบประชาธิปไตย นโยบายและคำสั่งมีลักษณะเป็นของบุคคลโดยเสียงข้างมาก  
ผู้นำตามบทบาทที่แสดงออก
  1. ผู้นำแบบบิดา-มารดา ผู้นำแบบนี้ ปฏิบัติตนเหมือนพ่อ-แม่ คือทำตนเป็นพ่อแม่ เห็นผู้อื่นเป็นเด็ก
  2. ผู้นำแบบนักการเมือง  ผู้นำแบบนี้เข้าทำนองว่ายืมมือ ของผู้บังคับบัญชาของผู้นำแบบนี้อีกชั้นหนึ่ง โดยเสนอขอให้สั่งการเพื่อประโยชน์แก่การสร้างอิทธิให้แก่ตนเอง
  3. ผู้นำแบบผู้เชี่ยวชาญ Staff  ผู้นำแบบนี้มักเป็นผู้เชี่ยวชาญและมีความรู้เฉพาะอย่าง เช่น คุณหมอพรทิพย์ มีความเชี่ยวชาญในการตรวจ DNA 


ศูนย์วิจัยของมหาวิทยาลัย Michigan ได้ศึกษาพฤติกรรมของผู้นำ แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
               1. ผู้นำที่มุ่งคน (Employee Oriented) คือผู้นำที่เน้นความมีสัมพันธภาพที่ดีกับพนักงาน กับบุคคลทั่วไป ยอมรับฟังความคิดเห็นของพนักงาน
               2. ผู้นำที่มุ่งงาน (Production Oriented) เน้นวิธีการปฏิบัติงานและผลงานที่จะได้ มองพนักงานเป็นเพียงเครื่องมือที่ทำให้เกิดผลงาน

คุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นผู้นำที่ดี
  1. มีความเฉลียวฉลาด
  2. มีการศึกษาอบรมดี    
  3. มีความเชื่อมั่นใจตนเอง    
  4. เป็นคนมีเหตุผลดี    
  5. มีประสบการณ์ในการปกครองบังคับบัญชาเป็นอย่างดี 
  6. มีชื่อเสียงเกียรติคุณ  
  7. สามารถเข้ากับคนทุกชั้นวรรณะได้เป็นอย่างดี 
  8. มีสุขภาพอนามัยดี   
  9. มีความสามารถเหนือระดับความสามารถของบุคคลธรรมดา
  10. มีความรู้เกี่ยวกับงานทั่ว ๆ ไปขององค์กร หรือหน่วยงานที่ตนปฏิบัติอยู่โดยเฉพาะ
  11. มีความสามารถเผชิญปัญหาเฉพาะหน้า ที่จะเกิดขึ้นในขณะปฏิบัติงานให้ได้ทันท่วงที
  12. มีความสามารถคาดการณ์ 

ภาวะผู้นำ (Leadership)
  1. ผู้นำโดยกำเนิด เช่น พระพุทธเจ้า พระเจ้าอยู่หัว
  2. ผู้นำที่มีความอัจฉริยะ เช่น พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายธานินทร์ เจียรวนนท์และนายบิลเกตต์
  3. ผู้นำที่เกิดขึ้นตามสายงานบริหาร เช่น อธิบดี ผู้อำนวยการ อธิการบดี หัวหน้าฝ่าย
  4. ผู้นำตามสถานการณ์ ผู้นำแบบนี้มักเป็นเพื่อนร่วมงาน เป็นครู เป็นผู้สอนแทน ผู้นำในการฝึกอบรม การประชุม  
ลักษณะของผู้นำในทศวรรษหน้า 

  1. เป็นผู้บริหารที่ไม่มากเกินไปในทางใดทางหนึ่ง คือ ไม่ใช่ผู้นำที่มุ่งแต่งานอย่างเดียว หรือมุ่งที่คนอย่างเดียว
  2. ผู้บริหารเน้นการสร้างให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนมีความเป็นเลิศในทุกด้าน  
  3. วิธีการแก้ปัญหาของผู้นำจะใช้ผู้ปฏิบัติงานแก้เอง
  4. ผู้นำจะมอบอำนาจ  จนพอที่ผู้ปฏิบัติงานสามารถใช้อำนาจนั้นให้งานสำเร็จในตัว
  5. ผู้นำเน้นคุณสมบัติของผู้ปฏิบัติงานที่สามารถทำงานเป็นทีมได้อย่างดี 

คุณสมบัติของผู้นำตามอักษรแต่ละตัวในคำว่า LEADERSHIP 
     1. L คือ Listen เป็นผู้ฟังที่ดี..
     2. E คือ Explain สามารถอธิบายสิ่งต่างๆ ให้เข้าใจได้..
     3. A คือ Assist ช่วยเหลือเมื่อควรช่วย..
     4. D คือ Discuss รู้จักแลกเปลี่ยนความคิดเห็น..
     5. E คือ Evaluation ประเมินผลการปฏิบัติงาน..
     6. R คือ Response แจ้งข้อมูลตอบกลับ..
     7. S คือ Salute ทักทายปราศรัย..
     8. H คือ Health มีสุขภาพดีทั้งกายและใจ..
     9. I คือ Inspire รู้จักกระตุ้นและให้กำลังใจลูกน้อง..
     10. P คือ Patient มีความอดทนเป็นเลิศนั่นเอง..

"ผู้นำจึงควรเป็นผู้ที่หัวใหญ่ (Head) ใจโต (Heart) 
มือกว้าง (Hand) และร่างสมาร์ท (Health)"



ผู้บริหารแบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ 
  1. ผู้บริหารทำหน้าที่สั่งการ  (Line Manager)
  2. ผู้บริหารทำหน้าที่ให้คำแนะนำ  (Staff  Manager)
  3. ผู้บริหารทำหน้าที่สั่งการเฉพาะด้าน  (Functional Manager)
  4. ผู้บริหารทั่วไป  (General Manager)
  5. ผู้บริหาร (Administrator)
คุณสมบัติของผู้บริหารและผู้นำเป็นทั้ง "ศาสตร์และศิลป์" ที่ต้องศึกษาเรียนรู้และพัฒนา และปรับตัวให้เข้ากับสภาพเงื่อนไขต่าง ๆ ทันคน ทันงาน ทันการณ์ (กาล) ทันเกมของการเปลี่ยนแปลงคนยุคเศรษฐกิจไร้พรมแดน 


1.  ผู้บริหารแบบ Impoverished จะเป็นผู้บริหารที่ไม่สนใจทั้งผู้ใต้บังคับบัญชาและเรื่องงาน เป็นลักษณะที่ไม่พึงประสงค์ที่สุด
2.  ผู้บริหารแบบ Country Club เป็นผู้บริหารที่มุ่งเน้นเรื่องความทุกข์สุขของผู้ใต้บังคับบัญชา แต่จะไม่มุ่งเน้นเรื่องงาน ดังนั้นผู้บริหารแบบนี้เป็นผู้บริหารที่ผู้ใต้บังคับบัญชาชอบ แต่งานที่รับผิดชอบมักจะไม่บรรลุเป้าหมาย
3.  ผู้บริหารแบบ  Authority-Compliance เป็นผู้บริหารที่มุ่งแต่เรื่องงานโดยไม่คำนึงถึงเรื่องจิตใจของผู้ใต้บังคับบัญชา แม้ว่างานที่รับผิดชอบอาจจะบรรลุผล แต่ผู้ใต้บังคับบัญชาอาจจะไม่พอใจ ผู้ที่ทำงานด้วยจะอึดอัดใจ อาจจะลงท้ายความขัดแย้งในที่สุด
4.  ผู้นำแบบ  Middle the Road   เป็นผู้บริหารที่พอได้ทั้งเรื่องคนและเรื่องงานผู้ใต้บังคับบัญชาที่ทำงานด้วยก็พอใจในระดับหนึ่งงานที่รับผิดชอบก็สำเร็จอยู่บ้าง

5.  ผู้บริหาร  Team   เป็นผู้บริหารที่สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชา และยังสามารถทำงานได้สำเร็จตามที่ได้รับมอบหมายอีกด้วยเป็นลักษณะผู้บริหารที่พึงประสงค์ที่สุดในบรรดาผู้บริหารแบบอื่น ๆ 


การบริหารงานให้บรรลุเป้าหมาย
          ต้องอาศัยทรัพยากรขององค์การขั้นพื้นฐาน คนเงิน  วัตถุดิบ  และทุน เป้าหมายของผู้บริหารทุกคนคือการทำให้เกิดผลกำไรและเพิ่มผลผลิต  (ผลิตภาพ)  นั่นคือการทำให้อัตราส่วนระหว่างผลผลิต (output)  และปัจจัยการผลิต (input) เป็นที่น่าพอใจภายในเวลาที่กำหนดอย่างมีคุณภาพและบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ  โดยมีเป้าหมายจะให้บังเกิดสิ่งต่อไปนี้คือ
            การเพิ่มผลผลิต  หรือผลิตภาพ  (Productivity) หมายถึง ประสิทธิผล (effectiveness) และประสิทธิภาพ (efficiency) ในการปฏิบัติงานของแต่ละบุคคล รวมตลอดของทั้งองค์การ
           ประสิทธิผล  (effectiveness) คือ การบรรลุถึงวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายตามที่ต้องการ  คือมองตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง 
           ส่วนประสิทธิภาพ (efficiency) นั่นคือความสามารถในการใช้ทรัพยากรให้น้อยที่สุด  และเกิดประโยชน์สูงสุด 

          จากการสำรวจ  ผู้บริหารที่มีประสิทธิผลกับผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จจะใช้เวลาในการทุ่มเทให้กับกิจกรรมดังกล่าวต่างกัน  คือผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จ (Successful Managers) ซึ่งก้าวหน้าในหน้าที่การงานได้เร็วกว่าผู้อื่น จะเน้นกิจกรรมด้าน Networking มากที่สุดทำกิจกรรมด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์น้อยที่สุด ส่วนผู้บริหารที่ตั้งใจทำงานให้เกิดประสิทธิผล (Effective Manager) ซึ่งพิจารณาจากปริมาณและคุณภาพของการปฏิบัติงานเป็นเครื่องวัดนั้น จะเน้นด้านการติดต่อสื่อสาร (Communication) การบริหารทรัพยากรมนุษย์และงานด้านการบริหารตามลำดับ ส่วนกิจกรรมด้าน networking จะทำน้อยที่สุด 




  • การนำเสนอคำคมของเพื่อน ทำให้เราสามารถนำมาเป็นแนวคิด แนวทางในการดำรงชีวิต และการทำงานในอนาคตได้ เนื่องจากคำคมต่าง ๆ มาจากผู้ที่ประสบความสำเร็จในชีวิตแล้วทั้งนั้น
  • เมื่อได้ความรู้เกี่ยวกับผู้นำ ผู้บริหารมากขึ้น ได้แนวทางการปกครองที่หลากหลาย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ เช่น การเป็นผู้นำครอบครัว เป็นคุณครู หรือเป็นผู้บริหาร จะได้ปฏิบัติตนได้ถูกต้อง เหมาะสมกับบทบาทหน้าที่นั้น ๆ



ประเมินตนเอง  :  เข้าเรียนตรงเวลา อาจมีเล่นบ้าง แต่ก็จดบันทึกหลักสำคัญ ๆ ของบทเรียน เพื่อนำมาเป็นความรู้ และบันทึกการเรียนรู้
ประเมินเพื่อน  :  เพื่อน ๆ มีการเตรียมความพร้อมในการนำเสนอคำคม ซึ่งทำให้ได้มุมมองที่แปลกใหม่ นำมาประยุกต์ใช้กับตนเองได้จริง
ประเมินอาจารย์  :  อาจารย์เป็นกันเองกับนักศึกษา เนื้อหาอาจจะเยอะ แต่อาจารย์ก็สอนให้เข้าใจได้ มีการยกตัวอย่าง อธิบายเพิ่มเติม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น