ยินดีต้อนรับเข้าสู่ แฟ้มสะสมผลงานอิเล็กทรอนิกส์ วิชาการบริหารสถานศึกษาปฐมวัย (EAED5401) Lucky Clover - Diagonal Resize 2 EAED5401 การบริหารสถานศึกษาปฐมวัย (Pre-School Administration): บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2 Cute Grapes 2

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2

วันพุธที่ 24 มกราคม 2561 : เวลา 08.30-11.30 น.


การบริหารการศึกษา  ( Education Administration )
          “การบริหาร” คือ “การดำเนินงานของกลุ่มบุคคลเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ที่วางไว้
          “การศึกษา” คือ “การพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ทั้งความรู้ ความคิด ความสามารถ และความเป็นคนดี”

เมื่อนำความหมายของ “การบริหาร” มารวมกับความหมายของ “การศึกษา” ก็จะได้

การดำเนินงานของกลุ่มบุคคล เพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ทั้งความรู้ ความคิด ความสามารถ และความเป็นคนดี”

หลักการ แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการบริหารสถานศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2545) ให้แนวคิดในการบริหารและการจัดการที่ดี เพื่อมาปรับใช้ในบริบทขององค์กรทางการศึกษา ในประเด็นดังนี้
  
  1. การกำหนดจุดหมาย ผลที่คาดหวัง หรือภาพความสำเร็จของการบริหารและการจัดการที่ดี (Goal / Expected / Output)   
  2. กระบวนการบริหารและการจัดการที่ดี (Process)  
  3. ทรัพยากรในการบริหารจัดการที่ดี (Input / Resource)  
  4.  ระบบควบคุม (Feedback / Control System)  
  5. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารและการจัดการที่ดี
" การบริหารเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์  "
(
Science and arts)




ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการบริหารสถานศึกษา

ทัศนะดั้งเดิม (Classical viewpoint)
• การบริหารเชิงวิทยาศาสตร์
Frederick. W. Taylor (เทเลอร์) บิดาแห่งารบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ ได้เสนอ หลัก 4 ประการ
  1. ใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์ มีการแยกวิเคราะห์งาน
  2. มีการวางแผนการทำงาน
  3. คัดเลือกคนทำงาน

  4. ใช้หลักการแบ่งงานกันทำระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายปฏิบัติ

การจัดการเชิงบริหาร
• Henry Fayol : หลักการบริหาร 14 หลักการ และขั้นตอนการบริการ POCCC
• Chester Barnard : ทฤษฏีการยอมรับอำนาจหน้าที่
• Luther Gulick : ใช้หลักการของ Fayol โดยใช้คำย่อว่า POSDCoRB ซึ่งเป็นหน้าที่ 7 ประการ

การบริหารแบบราชการ
• Max Weber พัฒนาหลักการจัดการแบบราชการ
  1. มีกฎระเบียบข้อบังคับเพื่อควบคุมการตัดสินใจ
  2. ความไม่เป็นส่วนตัว
  3. แบ่งงานกันทำตามความถนัด ความชำนาญเฉพาะทาง
  4. มีโครงสร้างการบังคับบัญชา
  5. ความเป็นอาชีพที่มั่นคง
  6. มีอำนาจหน้าที่ในการตัดสินใจ โดยมีกฎระเบียบรองรับ
  7. ความเป็นเหตุเป็นผล

        ทัศนะเชิงพฤติกรรม (Behavioral viewpoint)
  •           ทฤษฏีพฤติกรรมระยะเริ่มแรก
  • Hugo Munsterberg บิดาแห่งจิตวิทยาอุตสาหกรรม  ใช้หลักจิตวิทยาในการจำแนกคนงานให้เหมาะสมกับงาน
    Mary Parker Follett นักปรัชญาแห่งเสรีภาพของบุคคล เน้นสภาพแวดล้อมในการทำงานและการมีส่วนร่วม
  •           การศึกษาที่ฮอว์ธอร์น
  •  การทดลองของบริษัท เวสเทิร์น อิเล็กทริก ที่เมืองฮอว์ธร์น เพื่อศึกษาเกี่ยวกับผลของแสงไฟต่อประสิทธิภาพในการทำงาน
  •  ในช่วงท้ายของการทดลอง Elton Mayo ร่วมทำการทดลอง สรุปข้อค้นพบว่า

- เงินไม่ใช่สิ่งจูงใจสำคัญเพียงอย่างเดียว
- กลุ่มไม่เป็นทางการมีอิทธิพลต่อองค์การ
  •           ความเคลื่อนไหวเชิงมนุษยสัมพันธ์
  • Abraham Maslow :  มาสโลว์   ทฤษฏีลำดับขั้นความต้องการ 
  •  Douglas McGregor : แมคเกรเกอร์  ทฤษฏี X และทฤษฏี Y
  •           หลักพฤติกรรมศาสตร์
  •  เป็นการนำผลการวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาทฤษฏีเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ จากศาสตร์ สาขาต่างๆ เมื่อนำไปทดสอบแล้วจะเสนอให้นักบริหารนำไปใช้ เช่น ทฤษฏีการตั้งเป้าหมาย ของ Locke
ทัศนะเชิงปริมาณ (Quantitative viewpoint)
• การบริหารศาสตร์ มุ่งเพิ่มความมีประสิทธิผลในการตัดสินใจจากการใช้ตัวแบบคณิตศาสตร์และวิธีการเชิงสถิติ 
การบริหารปฏิบัติการ
• ยึดหลักการบริหารกระบวนการผลิตและให้บริการ
• กำหนดตารางการทำงาน
• วางแผนการผลิต
• การออกแบบอาคารสถานที่ การประกันคุณภาพ
• การใช้เทคนิคเครื่องมือต่างๆ เช่น เทคนิคการทำนายอนาคต
• การวิเคราะห์รายการ ตัวแบบเครือข่ายการทำงาน การวางแผน
และควบคุมโครงการ
ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร  เน้นการนำเอาระบบข้อมูลสารสนเทศโดยอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ในการบริหาร (Computer based information system : CBISs)

ทัศนะร่วมสมัย (Contemporary viewpoint)
  •          ทฤษฎีเชิงระบบ มุ่งเน้นกระบวนการมากกว่าผลผลิต ประเมินประสิทธิภาพของระบบงาน ประเมินเวลา ประเมินการใช้งบประมาณ ประเมินความถูกต้องของกระบวนการ ประเมินผลผลิตหรือผลงาน
  •          ทฤษฎีการบริหารตามสถานการณ์ ผู้บริหารอาจกำหนดหลักการจากการวิเคราะห์ลักษณะเฉพาะของแต่ละสถานการณ์เพื่อกำหนดแนวทางให้เหมาะสมกับโครงสร้าง เป้าหมายและผู้ปฏิบัติงานในองค์การ
  •          ทัศนะที่เกิดขึ้นใหม่ ทฤษฏี Z  ทฤษฏีการบริหารแบบญี่ปุ่น โดย William Ouchi โดยรวมหลักการบริหารแบบอเมริกันรวมกับแบบญี่ปุ่นมีหลักการสำคัญคือ ความมั่นคงในงาน การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ รับผิดชอบปัจเจกบุคคล เลื่อนตำแหน่งช้า ควบคุมไม่เป็นทางการ แต่วัดผลเป็นทางการ สนใจภาพรวมและครอบครัว
  •        สามารถนำหลักการ แนวคิดจากทฤษฎีต่าง ๆ ไปใช้ในการบริหารจัดการได้หลากหลายด้าน ทั้งงานกลุ่ม งานในชั้นเรียน ชุมชน สังคม เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน



ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา พยายามจดใจความสำคัญของเนื้อหา ส่งงานตามกำหนด
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ให้คำปรึกษา เมื่อไม่เข้าใจ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทฤษฎีที่แต่ละคนหามา
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เป็นกันเอง เรียนด้วยแล้วสบายใจ ไม่เครียด เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น